หนองในเทียม



หนองในเทียม (Chlamydia infection) เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่พบบ่อย มีสาเหตุจากการติดเชื้อแบคทีเรียที่มีชื่อเรียกว่า คลามัยเดีย ทราโคมาทิส (Chlamydia tra chomatis) โรคหนองในเทียมมักจะไม่ปรากฏอาการให้เห็นอย่างชัดเจน แต่มักจะก่อให้เกิดการทำลายระบบอวัยวะสืบพันธุ์ของผู้หญิงอย่างมาก จนอาจทำให้เกิดภาวะมีบุตรยาก ในผู้ ชายอาการที่อาจพบได้ คือมีน้ำลักษณะคล้ายหนองไหลออกจากอวัยวะเพศได้

สาเหตุ

การติดต่อของโรคหนองในเทียมเกิดจากการมีเพศสัมพันธ์ไม่ว่าจะเป็นทางช่องคลอด ทวารหนัก หรือทางปาก หนองในเทียมอาจติดต่อจากแม่สู่ลูกขณะมีการคลอดทางช่องคลอด ดังนั้นในผู้ที่มีเพศสัมพันธ์จึงเป็นผู้ที่มีความเสี่ยงในการติดโรคหนองในเทียม ยิ่งมีจำนวนคู่นอนมากขึ้นเท่าไหร่ โอกาสการติดเชื้อก็จะเพิ่มขึ้นมากเป็นเงาตามตัว นอกจากนี้ในเด็กวัยรุ่นผู้หญิงที่เยื่อบุปากมดลูกยังไม่มีการพัฒนาเต็มที่ จะมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเพิ่มขึ้นหากมีเพศสัมพันธ์ในช่วงเวลาดังกล่าว

นอกจากนี้ การที่ผู้ชายมีเพศสัมพันธ์กับผู้ชาย หรือผู้หญิงมีเพศสัมพันธ์กับผู้หญิง ก็สามารถติดหนองในเทียมได้เช่นกัน เพราะเชื้อหนองในเทียมสามารถติดต่อได้ทางทวารหนัก หรือจากการที่อวัยวะเพศสัมผัสกัน

อาการ

หนองในเทียมเป็นโรคที่มักจะไม่แสดงอาการ ซึ่งในผู้ที่มีอาการ อาการต่างๆมักปรากฏภายใน 1-3 สัปดาห์หลังจากสัมผัสเชื้อ (ระยะฟักตัวของโรค) ในผู้หญิง แบคทีเรียจะทำให้เกิดโรคที่ปากมดลูกและที่ท่อปัสสาวะ ดังนั้นผู้หญิงในกลุ่มนี้มักมีตกขาวผิดปกติหรือมีปัสสาวะแสบขัด กรณีการติดเชื้อลามไปถึงท่อนำไข่ ผู้หญิงที่ติดโรคอาจมีอาการหรือไม่มีอาการก็ได้ กรณีมีอาการ ผู้หญิงมักจะมีอาการปวดท้องน้อย ปวดหลัง คลื่นไส้ มีไข้ ปวดท้อง น้อยขณะที่มีเพศสัมพันธ์ หรือมีเลือดออกผิดปกติระหว่างรอบประจำเดือน การติดเชื้อหนองในเทียมสามารถกระจายไปที่ลำไส้ตรง (ส่วนปลายของลำไส้ใหญ่ที่ต่อกับทวารหนัก)ได้อีกด้วย

ในผู้ชายที่มีอาการ อาจพบว่า มีสารคัดหลั่งไหลจากท่อปัสสาวะ หรือรู้สึกปัสสาวะแสบขัด นอกจากนี้ อาจรู้สึกแสบ หรือคันที่บริเวณอวัยวะเพศ อาจพบอาการปวด บวมที่บริเวณลูกอัณฑะได้แต่ไม่บ่อย

ในผู้มีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก อาจพบการติดเชื้อที่บริเวณดังกล่าวได้ ซึ่งอาจก่อให้ เกิดอาการปวดบริเวณทวารหนัก มีน้ำหรือเลือดออกจากทวารหนัก ผู้มีเพศสัมพันธ์ทางปาก อาจมีการติดเชื้อในลำคอ ก่ออาการเจ็บคอเรื้อรังได้

ภาวะแทรกซ้อน

หากเป็นหนองในเทียมแล้วไม่ได้รับการรักษา ภาวะแทรกซ้อน (ผลข้างเคียง) ที่ตาม มาอาจเกิดขึ้นอย่างรุนแรงได้ ดังต่อไปนี้

ภาวะมีบุตรยากการติดเชื้อในอุ้งเชิงกรานในที่สุด (การอักเสบของมดลูกและอวัยวะใกล้เคียง) ลักษณะดังกล่าวพบได้ 10-15% ของผู้หญิงที่ไม่ได้รับการรักษา การอักเสบของอวัยวะสืบพันธุ์ภายในของสตรีรวมทั้งของท่อนำไข่จากโรคหนองในเทียมนั้น มักจะไม่มีอาการปรากฏ และมักจะก่อให้เกิดการทำลายอย่างรุนแรง ทั้งที่ท่อนำไข่ มดลูกและอวัยวะข้างเคียงที่อยู่ใกล้ๆ การทำลายจะก่อให้เกิดอาการปวดท้องน้อยเรื้อรัง ภาวะมีบุตรยาก หรือท้องนอกมดลูก นอกจากนี้ยังทำให้โอกาสในการติดเชื้อโรคเอดส์/เอชไอวีเพิ่มขึ้นอีกด้วยเมื่อได้รับการสัมผัสกับเชื้อเอดส์ในช่วงเวลาดังกล่าว ในผู้หญิงที่ไม่ได้รับการรักษา เชื้อโรคจะกระจายไปสู่มดลูก ท่อนำไข่ และก่อให้เกิดโรคอุ้งเชิงกรานอักเสบ/

การป้องกันภาวะแทรกซ้อนทำได้โดยการตรวจคัดกรองโรค (ตรวจโรคนี้เป็นประจำใน ขณะยังไม่มีอาการ เริ่มตั้งแต่เมื่อมีเพศสัมพันธ์) อย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง โดยเฉพาะในผู้หญิงที่มีอายุ 25 ปีหรือน้อยกว่า ส่วนในผู้ที่มีอายุมากกว่า 25 ปีซึ่งมีความเสี่ยง ได้แก่ ผู้ที่มีคู่นอนคนใหม่ หรือมีคู่นอนหลายคนในช่วงเวลาเดียวกัน และในสตรีตั้งครรภ์ ในผู้ชายมักจะไม่ค่อยมีภาวะแทรกซ้อนรุนแรง แต่บางรายอาจเกิดการอักเสบของท่อนำน้ำเชื้ออสุจิทำให้เกิดอาการปวด มีไข้หรือเป็นหมันได้เช่นกัน

อาการอื่นๆที่อาจพบได้ คือ การอักเสบของข้ออันเนื่องมาจากการติดเชื้อหนองในเทียมซึ่งพบได้น้อยมาก บางรายอาจมีผื่นขึ้นที่ผิวหนัง บางรายอาจมีการอักเสบของดวงตา และ/หรือของท่อปัสสาวะได้ด้วย เรียกกลุ่มอาการนี้ว่า กลุ่มอาการไรเทอร์ (Reiter's syn drome).

การวินิจฉัยโรค

การวินิจฉัยโรคหนองในเทียมทำได้โดยการเก็บสารคัดหลั่งจากตำแหน่งที่ต้องการตรวจเพื่อส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการหาเชื้อแบคทีเรียที่มีชื่อว่าคลามัยเดีย ทราโคมาทิส ตัว อย่างสารคัดหลั่งที่เก็บ เช่น ปัสสาวะ สารคัดหลั่งจากท่อปัสสาวะเพศชาย หรือสารคัดหลั่งจากปากมดลูก เป็นต้น

วิธีรักษา

การรักษาหนองในเทียมสามารถทำได้ไม่ยาก โดยการใช้ยาต้านจุลชีพ/ยาปฏิชีวนะ เช่น การรับประทาน Azithromycin ขนาด 1 กรัมเพียงครั้งเดียว หรือการรับประทาน Doxy cycline สองครั้งต่อวันเป็นระยะเวลา 7 วัน (ไม่ควรซื้อยาปฏิชีวนะกินเอง ควรเป็นการสั่งยาโดยแพทย์ เพื่อป้องกันการใช้ชนิดยาไม่ตรงกับโรค/หลักการใช้ยาปฏิชีวนะ)

นอกจากนั้น ควรงดเพศสัมพันธ์ตั้งแต่สงสัยว่าติดโรคจนกระทั่งครบ 7 วันหลังจากที่รับประทานยาเม็ดสุดท้าย และคู่นอนควรต้องได้รับการตรวจรักษาที่เหมาะสมเช่นเดียวกัน

ป้องกันการติดเชื้อ

วิธีที่ได้ผลดีที่สุดในการป้องกันการติดเชื้อหนองในเทียม คือ งดมีเพศสัมพันธ์ (ทำได้ยาก) หรือมีคู่นอนคนเดียวอย่างยั่งยืน โดยที่คู่นอนนั้นได้ผ่านการตรวจแล้วไม่พบการติดเชื้อหนองในเทียม วิธีอื่นได้แก่ การใช้ถุงยางอนามัยชนิดลาเท็กซ์อย่างสม่ำเสมอและถูกวิธี
การตรวจคัดกรองหนองในเทียมอย่างสม่ำเสมอทุก 1 ปีในผู้หญิงที่มีเพศสัมพันธ์ที่มีอายุ 25 ปีหรือน้อยกว่า เป็นสิ่งที่ควรทำ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น