ซิฟิลิส


               ซิฟิลิสเป็น โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เกิด จากการติดเชื้อ Treponema pallidum เป็นโรคที่มีอันตราย และมีอาการเรื้อรัง สามารถติดต่อยาวนานกว่า 2 ปี ลักษณะการติดเชื้อเริ่มแรกจะเป็นก้อนแข็ง แต่ไม่เจ็บที่บริเวณอวัยวะเพศ หากไม่รักษาจะกลายเป็นระยะที่สองที่เรียกว่า เข้าข้อหรือออกดอก ถ้าทิ้งไว้นานจะทำให้เกิดโรคแก่ระบบต่างๆ ของร่างกายหลายระบบ ทั้งซิฟิลิสระบบหัวใจและหลอดเลือด ซิฟิลิสระบบประสาท เป็นต้น นอกจากนี้ มารดาที่เป็นโรคซิฟิลิสจะถ่ายทอดโรคสู่ทารกในครรภ์ได้เรียกว่า ซิฟิลิสแต่กำเนิด (congenital syphilis)จึงถือซิฟิลิสเป็นโรคที่มีอันตราย และมีอาการเรื้อรัง สามารถติดต่อยาวนานกว่า 2 ปี

สาเหตุ

โรคซิฟิลิส เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ชื่อ ทริปโปนีมา พัลลิดุม (Treponema pallidum) มีลักษณะคล้ายเกลียวสว่าน (Spirochete bacteria) เชื้อชอบอยู่ในที่มีความชื้น และตายได้ง่ายในที่มีความแห้ง ถูกทำลายได้ง่ายด้วยสบู่หรือน้ำยาฆ่าเชื้อ เชื้อมีระยะฟักตัวประมาณ 2-4 สัปดาห์ หรืออาจนานถึง 3 เดือน

อาการ

อาการของโรคซิฟิลิส แบ่งออกเป็น 3 ระยะ ดังนี้

ระยะที่ 1: เมื่อได้รับเชื้อ บริเวณที่ได้รับเชื้อ เช่น ที่บริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก ริมฝีปาก ลิ้น ต่อมทอนซิล หัวนม จะเริ่มมีตุ่มเล็กๆ ขนาดประมาณ 2-4 มิลลิเมตร จากนั้นจะเริ่มขยายออก มีขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ และจะแตกออกกลาย เป็นแผลที่กว้างขึ้น เป็นรูปไข่หรือวงรี ขอบมีลักษณะเรียบ และแข็ง แผลมีลักษณะสะอาด บริเวณก้นแผลแข็ง มีลักษณะคล้ายกระดุม ไม่มีอาการเจ็บปวด ต่อจากนั้น เชื้อจะเข้าไปอยู่ที่ต่อมน้ำเหลืองบริเวณขาหนีบ ส่งผลให้มีต่อมน้ำเหลืองที่ขาหนีบโต เมื่อทิ้งไว้แผลสามารถหายไปได้เองโดยไม่ต้องรักษา ระยะนี้เป็นระยะที่ยังไม่แสดงอาการ

ระยะที่ 2: จะพบหลังการเป็นโรคระยะแรก 2-3 สัปดาห์ เชื้อซิฟิลิสจะเข้าไปอยู่ตาต่อมน้ำเหลืองทั่วร่างกาย เช่น บริเวณหลังหู หลังขาหนีบและขาพับ และเข้าไปสู่กระแสเลือด รวมทั้งกระจายไปตาอวัยวะต่างๆของร่างกาย จะทำให้เกิดผื่นขึ้นตามร่างกาย หรือเรียกว่า ระยะออกดอกผื่นที่พบมีความแตกต่างจากผื่นลมพิษทั่วไป เพราะผู้ป่วยจะมีผื่นขึ้นที่บริเวณฝ่ามือด้วยและจะไม่มีอาการคัน ผื่นมีลักษณะเป็นตุ่มนูน และอาจพบมีเนื้อตายจากผื่นเป็นหย่อมๆ และพบเนื้อเน่าหลุดออกมา มีน้ำเหลือง และในน้ำเหลืองจะมีเชื้อซิฟิลิส ระยะนี้เป็นระยะที่ติดต่อได้โดยง่าย ผู้ป่วยบางรายอาจจะไม่มีผื่นขึ้นเลยแต่อาจจะมีอาการไข้ เจ็บคอ ปวดเมื่อยตามข้อ ผมร่วงทั่วศีรษะหรือร่วงเป็นหย่อมๆ

เมื่อทำการตรวจเลือดในระยะนี้จะพบว่ามีผลบวกของเลือดสูงมาก ถ้าผู้ป่วยยังไม่ได้รับการรักษา โรคจะอยู่ใน "ระยะสงบ" โดยเชื้อจะไปหลบซ่อนตาอวัยวะต่างๆในร่างกาย และจะไม่แสดงอาการได้นานหลายปี เพียงแต่ตรวจเลือดให้ผลบวกเท่านั้น

ระยะที่ 3: เป็นระยะสุดท้ายของโรค หรือระยะแฝง เมื่อไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง ผู้ป่วยจะเข้าสู่ระยะที่ 3 ประมาณ 3-10 ปีหลังจากระยะที่ 1 โดยมีอาการตามระบบต่างๆของร่างกาย เช่น ตาบอด เนื้อจมูกถูกทำลายจนเป็นรอยโหว่ หูหนวก ใบหน้าผิดรูป กระดูกผุบาง อาจมีสติปัญญาเสื่อม บางรายอาจมีการแสดง ออกที่ผิดปกติคล้ายคนเสียสติ ถ้าเชื้อไปอยู่ที่หัวใจก็จะทำให้หัวใจมีความผิดปกติ ลิ้นหัวใจรั่ว หลอดเลือดแดงใหญ่ที่ออกจากหัวใจมีลักษณะโป่งพอง ทำให้เกิดความเสี่ยงต่อภาวะหัวใจวายได้ ถ้าเชื้อเข้าไปอยู่ที่ไขสันหลังก็จะทำให้เป็นอัมพาต และมีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตได้

การติดต่อ

โรคซิฟิลิส สามารถติดต่อได้จากการมีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่เป็นโรคนี้ในระยะที่ 1 และถ้าสัมผัสกับน้ำเหลืองที่ผิวหนังของผู้ที่เป็นโรคนี้ในระยะที่ 2 (ระยะออกดอก) ก็มีโอกาสที่จะรับเชื้อได้เช่นกัน นอกจากนี้ ในทารกที่ได้รับเชื้อผ่านมาจากมารดาโดยตรงโดยผ่านจากทางรก ก็จะมีอาการแสดงแต่กำเนิด ดังจะกล่าวในหัวข้อต่อ ไป ส่วนโรคในระยะที่ 3 มักเป็นระยะที่ไม่มีการติดต่อ

การรักษา

เมื่อเกิดแผลบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ โดยเฉพาะหลังการมีเพศสัมพันธ์ ควรพบแพทย์เสมอ เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุของแผลที่เกิดขึ้น และเมื่อตรวจพบว่าเป็นโรคซิฟิลิส แม้ว่าจะไม่มีอาการ หรืออยู่ในระยะโรคสงบก็ควรไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษา เพราะเชื้อซิฟิลิสยังอยู่ในกระแสเลือดและพร้อมที่จะลุก ลามจนเกิดอาการที่รุนแรงได้ต่อไป ทั้งนี้ แพทย์จะรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ กลุ่มเพนิซิลลินในขนาดสูง และจะต้องไปฉีดยาตามที่แพทย์นัดทุกครั้ง การขาดยา จะเป็นสาเหตุสำคัญให้โรคไม่หาย และเกิดโรคในระยะที่ ป้องกัน

การดูแลตนเอง การป้องกัน และการพบแพทย์ในโรคซิฟิลิส คือ

หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์กับสตรีที่เป็นโรคนี้

ไม่สำส่อนทางเพศ

หลีกเลี่ยงการเที่ยวหญิงบริการ

ป้องกันการติดเชื้อโดยสวมถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์

ทำความสะอาดบริเวณอวัยวะเพศและร่างกายอยู่เสมอ

หลีกเลี่ยงการดื่มสุราเพราะจะทำให้ขาดสติ

รัฐควรมีการควบคุมโรคในกลุ่มสตรีที่ขายบริการทางเพศ

รักษาสุขอนามัยพื้นฐาน(สุขบัญญัติแห่งชาติ) เสมอ เพื่อร่างกายแข็งแรง และเพื่อลดโอกาสติดเชื้อ

พบแพทย์เสมอเมื่อมีอาการดังกล่าว อย่ารักษาตัวเอง

พบแพทย์เสมอ เมื่อกังวลในอาการ หรือ สงสัยตนเองอาจติดเชื้อทางเพศ สัมพันธ์ซึ่งรวมถึง ซิฟิลิส

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น