หิด


                หิดเป็น โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เกิด จากตัวไร Sarcoptes scabei ลักษณะจะมีตุ่มน้ำใสและตุ่มหนองคันขึ้นกระจายทั้ง 2 ข้างของร่างกาย มักพบตามง่ามนิ้วมือ ข้อศอก รักแร้ รอบหัวนม รอบสะดือ อวัยวะสืบพันธุ์ ข้อเท้า หลังเท้า ก้น ผู้ป่วยมักมีอาการคันมาก โดยเฉพาะเวลากลางคืน สามารถติดต่อได้จากการสัมผัสใกล้ชิด สัมผัสทางเพศหรือ อยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วย

สาเหตุการเกิดโรคหิด


เกิดการติดเชื้อผ่านทางผิวหนังโดยไม่ต้องมีการสัมผัสใกล้ชิด การติดต่อทางเพศสัมพันธ์ การอยู่ร่วมกันของผู้คนจำนวนมากโดยที่มีคนเป็นพาหะนำเชื้อ โรคนี้ติดต่อกันง่าย พบได้ในทุกเพศทุกวัย มักพบว่าอาจจะเป็นกันทั้งครอบครัว หรือระบาดในชุมชนที่มีสุขอนามัยไม่ดี โรคหิดไม่มีการแพร่ทางหายใจหรือทางอาหาร

อาการ


1.             ลักษณะผื่นเป็นตุ่มแดง มีลักษณะเป็นรอยนูนคดเคี้ยวคล้ายเส้นด้ายสั้นๆที่ผิวหนัง ความยาว 5 15 มม. ต่อมาตุ่มแดงกลายเป็นตุ่ม

2.             ตุ่มแดงกระจายไปทั่วตัว พบมากตามง่ามมือ ง่ามเท้า ข้อพับ ข้อศอก รักแร้ ใต้ราวนม รอบหัวนม สะดือ บั้นเอว ฝ่ามือ ฝ่าเท้า ลูกอัณฑะ และอวัยวะเพศ ส่วนบริเวณผิวหน้าและศีรษะพบได้น้อย

3.             อาการคันเกิดหลังจากการติดเชื้อแล้วประมาณ 24 ชั่วโมง

4.             ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง เช่น เป็นโรคเอดส์, SLE, มะเร็ง เม็ดเลือดจะมีการขยายพันธุ์ของตัวไรเพิ่มขึ้น มากมาย จนผื่นกลายเป็นสะเก็ดขุยพอกหนา ภายในสะเก็ดมีตัวหิดอยู่จำนวนมากทำให้แพร่เชื้อได้ง่าย

5.             ผื่นมีอาการคันมาก โดยเฉพาะเวลากลางคืนจะคันมากเป็นพิเศษ

6.             พบผู้ป่วยในครอบครัวเดียวกันหลายคน

การรักษา


เมื่อเริ่มเป็นหิดในระยะแรกควรรีบพบแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกวิธี ซึ่งในการรักษาจะใช้ทั้งยาทาและยารับประทาน เพื่อแก้อาการอักเสบ

ยาทา


1.ยา gamma benzene hexachloride 0.3% - 1% gel หรือ cream ใช้ทาหลังอาบน้ำ โดยทาทั่วตัวตั้งแต่ระดับคอลงมาถึงปลายเท้าทิ้งไว้นาน 12 ชั่วโมง แล้วจึงอาบน้ำล้างออก ทาครั้งเดียว อาจมีอาการคันอยู่สักระยะหนึ่งไม่จำเป็นต้องทายาซ้ำ ถ้ายังไม่หายควรปรึกษาแพทย์

2.ยาทาชนิดน้ำ เบนซิลเบนโซเอต (benzyl benzoate) 12.5% สำหรับเด็ก และ 25% สำหรับผู้ใหญ่ และขี้ผึ้งผสมกำมะถันเหลือง (6-10% precipitated sulfur)

·         ยาทาหลังอาบน้ำ ทาเป็นแผ่นฟิล์มบางๆ คลุมทุกพื้นที่ของผิวหนังของร่างกายตั้งแต่ระดับคอลงมาถึง

ปลายเท้า ทาทุกซอกทุกมุม ตามซอกนิ้วมือนิ้วเท้าและใต้เล็บ เพื่อให้เนื้อยาเข้าถึงทุกจุด ทายาทิ้งไว้ 24 ชั่วโมง แล้วจึงอาบน้ำล้างออก ทำติดต่อกัน 3 วัน

·         ในเด็กเล็กแพทย์จะกำหนดระยะเวลาการใช้ยาที่เหมาะสม

·         ใช้ยาสเตอรอยด์อ่อนๆ เช่น hydrocortisone cream 1% ทาวันละ 2 ครั้ง เพื่อช่วยลดอาการคัน

 


ยารับประทาน


·         ถ้ามีอาการติดเชื้อของผิวหนัง จะให้ยาปฏิชีวนะ

·         หากมีอาการคันมาก ให้รับประทานยาแก้แพ้ช่วยลดอาการคัน

·         ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

การป้องกัน


1. การรักษาโรคหิด ต้องรักษาทุกคนในครอบครัวพร้อมกันไม่ว่าจะมีอาการหรือไม่

2. ผู้สัมผัสโรคต้องใช้ยาเช่นเดียวกับผู้ป่วย ถึงแม้จะยังไม่มีอาการ หรือยังไม่มีตุ่มคันก็ตาม

3. ทำความสะอาดเสื้อผ้า เครื่องนอน เครื่องใช้ทั้งหมด โดยการต้มหรือนำออกตากแดด

4. ดูแลรักษาความสะอาดสถานที่พักอาศัย

5. รักษาสุขอนามัยส่วนบุคคลขั้นพื้นฐานให้ดี เช่น อาบน้ำถูสบู่วันละ 1-2 ครั้ง

6. หลีกเลี่ยงการอยู่ในสถานที่ที่มีความเสี่ยง หรืออยู่ใกล้ชิดกับบุคคลที่มีความเสี่ยง เช่น สถานที่กักขัง สถานสงเคราะห์

7. หลีกเลี่ยงการใช้ของส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น เช่น ผ้าเช็ดตัว เสื้อผ้า รองเท้า ฯลฯ

8. รองเท้าควรล้างให้สะอาด และนำไปผึ่งแดด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น