แผลกามโรคเรื้อรังที่ขาหนีบ


          แผลกามโรคเรื้องรังที่ขาหนีบ เป็นโรคติดต่อเรื้อรังพบได้ในเขตประเทศที่อยู่ในเขตร้อน และอบอุ่น มักเกิดกับผู้ชายอายุระหว่าง 20 ถึง 40 ปีหรือในกลุ่มพวกรักร่วมเพศ พบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง โดยเฉพาะในกลุ่มประชากรที่ภาวะทางเศรษฐกิจและสังคมไม่ดี

การติดต่อ

 อาจติดต่อได้โดยตรงโดยสัมผัสกับบาดแผลที่มีเชื้อโรคระหว่างการร่วมประเวณี

อาการ

เป็นโรคติดต่อเรื้อรัง เมื่อเป็นแล้วหากได้รับเชื้อใหม่สามารถเป็นได้อีก ผู้ป่วยมักเกิดแผลเรื้อรังบริเวณทวารหนักและอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกหรือบริเวณเยื่อบุ โดยเฉพาะบริเวณที่มีการเสียดสีกัน หรือบริเวณผิวหนังที่ชื้นและมีเหงื่อ เช่น ระหว่างขาพับ อัณฑะ อวัยวะสืบพันธุ์ส่วนนอกของสตรีลักษณะเริ่มแรกของแผลจะเป็นตุ่มนํ้าใส ต่อมาจะแตกออกเป็นแผลตื้นๆ มีขอบแผลเห็น ได้ชัด ขอบแผลอาจแข็งเนื่องจากมีพังผืดขึ้น แผลสามารถติดต่อได้เองโดยเชื้อโรคอาจลุกลาม ไปบริเวณใกล้เคียง ทำให้เกิดแผลหลายแผล หรือเกิดเป็นแผลใหญ่ รวมทั้งการลุกลามไปยังอวัยวะอื่นๆของร่างกาย และบางครั้งอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดมะเร็งของอวัยวะสืบพันธุ์ชาย

การวินิจฉัยโรค

 มีแผลเรื้อรังที่บริเวณผิวหนังและเยื่อบุของอวัยวะสืบพันธุ์ เมื่อขูดที่บริเวณก้นแผลนำมาดูด้วยกล้องจุลทรรศน์ จะพบเชื้อโรคนี้

การรักษา

1.ใช้ยาเตทตราซัยคลิน (Tatracycline) หรือ คลอแรมเฟนิคอล (Chloramphinicol) ขนาด 1 กรัม เป็นเวลา 1-2 สัปดาห์

2.ใช้ยาสเตรปโตมัยซิน (Streptomycin) ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ วันละ 1 กรัม จนกว่าแผลจะหาย (ประมาณ 7-10 วัน) ฯ

การปฏิบัติตนการป้องกันควบคุม

 เหมือนหนองในและกามโรคชนิดอื่น

การป้องกัน โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
วิธีป้องกัน โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ คือ
1. ใส่ถุงยางอนามัย หากจะมีเพศสัมพันธ์กับคนที่ไม่แน่ใจว่ามีเชื้อหรือไม่
2. รักษาความสะอาดของร่างกายและอวัยวะเพศอย่างสม่ำเสมอ
3. ไม่เปลี่ยนคู่นอน ให้มีสามี หรือภรรยาคนเดียว
4. ไม่ควรมีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่ยังอายุน้อย เนื่องจากมีสถิติว่า ผู้ที่มีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุยังน้อยจะมีโอกาสติด โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ สูง
5. ตรวจโรคเป็นประจำทุกปี เพื่อหาเชื้อโรค แม้จะไม่มีอาการใด ๆ โดยเฉพาะคู่ที่กำลังจะแต่งงาน
6. เรียนรู้ ศึกษาอาการของโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
7. ไม่ควรมีเพศสัมพันธ์ขณะมีประจำเดือน เพราะจะทำให้เกิด โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ได้ง่าย
8. ไม่ควรมีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก หากจำเป็นให้สวมถุงยางอนามัย
9. ไม่ควรสวนล้างช่องคลอด เพราะจะทำให้เกิดการติดเชื้อ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ได้ง่าย


วิธีปฏิบัติตัวของผู้ที่เป็น โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
1. ต้องรักษาอย่างรวดเร็ว เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อโรค
2. แจ้งคู่นอนให้ทราบว่า เป็น โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เพื่อจะได้ป้องกัน ไม่ให้เชื้อแพร่ไปสู่คนอื่น
3. รักษาอาการ และปฏิบัติตัวตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด
4. หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ หรือการสำเร็จความใคร่ด้วยตัวเอง เพื่อป้องกันไม่ให้อาการอักเสบลุกลาม
5. งดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ของมึนเมาทุกชนิด
6. ไม่ควรซื้อยามารักษาเอง ควรปรึกษาแพทย์ เพื่อให้ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น