โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์


รู้จักกันไหมเอ่ย ว่า " โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ " คืออะไร และมีโรคอะไรที่เป็น โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ บ้าง วันนี้เราจะไปทำความรู้จัก "โรค" ที่สามารถติดต่อผ่านทางเพศสัมพันธ์กัน
โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ หรือโรคส่งผ่านทางเพศสัมพันธ์ (ตามที่บัญญัติในราชบัณฑิตยสถาน) (Sexually transmitted disease; STD) อาจเรียกว่า "กามโรค" (Venereal disease) หรือ "วีดี" เกิดขึ้นจากการติดต่อกันผ่านทางเพศสัมพันธ์ ไม่ว่าจะเป็นการร่วมเพศทางช่องคลอด ทางปาก หรือทวารหนัก กับผู้ที่กำลังมีเชื้อ ปัจจุบันใช้คำว่า "การติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์"

โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เป็น โรคที่สามารถเป็นได้ทุกเพศ ทุกวัย แต่พบมากในหมู่วัยรุ่น เนื่องจากวัยรุ่นในปัจจุบัน นิยมมีเพศสัมพันธ์ก่อนการแต่งงาน โดยที่ขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการป้องกันตัวเอง รวมทั้ง โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ต่างๆ นอกจากนี้ในปัจจุบัน คู่แต่งงานมีอัตราการหย่าร้างสูงขึ้น ทำให้คนมีสามี หรือภรรยาหลายคน จึงเกิด โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ มากขึ้น

สิ่งที่อันตรายของ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ คือ เมื่อเป็นแล้ว มักจะไม่เกิดอาการ บางคนจึงติด โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ แล้วโดยไม่รู้ตัว และเป็นปัญหาในการจัดการทางระบบสาธารณสุข และที่สำคัญ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ นี้ สามารถติดต่อไปยังทารกในครรภ์ได้

ผู้จัดทำ

จัดทำโดย

                      นางสาวอริษา            สะเล็ม      เลขที่   17
   
                  นายเรืองวรรษ           เขมา        เลขที่   21

                    นางสาวปาณิสรา      อ้นเต่า      เลขที่  33

                     นางสาวศิริรัตน์         ศรีนาค     เลขที่  35
    นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/1


แผลกามโรคเรื้อรังที่ขาหนีบ


          แผลกามโรคเรื้องรังที่ขาหนีบ เป็นโรคติดต่อเรื้อรังพบได้ในเขตประเทศที่อยู่ในเขตร้อน และอบอุ่น มักเกิดกับผู้ชายอายุระหว่าง 20 ถึง 40 ปีหรือในกลุ่มพวกรักร่วมเพศ พบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง โดยเฉพาะในกลุ่มประชากรที่ภาวะทางเศรษฐกิจและสังคมไม่ดี

การติดต่อ

 อาจติดต่อได้โดยตรงโดยสัมผัสกับบาดแผลที่มีเชื้อโรคระหว่างการร่วมประเวณี

อาการ

เป็นโรคติดต่อเรื้อรัง เมื่อเป็นแล้วหากได้รับเชื้อใหม่สามารถเป็นได้อีก ผู้ป่วยมักเกิดแผลเรื้อรังบริเวณทวารหนักและอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกหรือบริเวณเยื่อบุ โดยเฉพาะบริเวณที่มีการเสียดสีกัน หรือบริเวณผิวหนังที่ชื้นและมีเหงื่อ เช่น ระหว่างขาพับ อัณฑะ อวัยวะสืบพันธุ์ส่วนนอกของสตรีลักษณะเริ่มแรกของแผลจะเป็นตุ่มนํ้าใส ต่อมาจะแตกออกเป็นแผลตื้นๆ มีขอบแผลเห็น ได้ชัด ขอบแผลอาจแข็งเนื่องจากมีพังผืดขึ้น แผลสามารถติดต่อได้เองโดยเชื้อโรคอาจลุกลาม ไปบริเวณใกล้เคียง ทำให้เกิดแผลหลายแผล หรือเกิดเป็นแผลใหญ่ รวมทั้งการลุกลามไปยังอวัยวะอื่นๆของร่างกาย และบางครั้งอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดมะเร็งของอวัยวะสืบพันธุ์ชาย

การวินิจฉัยโรค

 มีแผลเรื้อรังที่บริเวณผิวหนังและเยื่อบุของอวัยวะสืบพันธุ์ เมื่อขูดที่บริเวณก้นแผลนำมาดูด้วยกล้องจุลทรรศน์ จะพบเชื้อโรคนี้

การรักษา

1.ใช้ยาเตทตราซัยคลิน (Tatracycline) หรือ คลอแรมเฟนิคอล (Chloramphinicol) ขนาด 1 กรัม เป็นเวลา 1-2 สัปดาห์

2.ใช้ยาสเตรปโตมัยซิน (Streptomycin) ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ วันละ 1 กรัม จนกว่าแผลจะหาย (ประมาณ 7-10 วัน) ฯ

การปฏิบัติตนการป้องกันควบคุม

 เหมือนหนองในและกามโรคชนิดอื่น

การป้องกัน โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
วิธีป้องกัน โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ คือ
1. ใส่ถุงยางอนามัย หากจะมีเพศสัมพันธ์กับคนที่ไม่แน่ใจว่ามีเชื้อหรือไม่
2. รักษาความสะอาดของร่างกายและอวัยวะเพศอย่างสม่ำเสมอ
3. ไม่เปลี่ยนคู่นอน ให้มีสามี หรือภรรยาคนเดียว
4. ไม่ควรมีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่ยังอายุน้อย เนื่องจากมีสถิติว่า ผู้ที่มีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุยังน้อยจะมีโอกาสติด โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ สูง
5. ตรวจโรคเป็นประจำทุกปี เพื่อหาเชื้อโรค แม้จะไม่มีอาการใด ๆ โดยเฉพาะคู่ที่กำลังจะแต่งงาน
6. เรียนรู้ ศึกษาอาการของโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
7. ไม่ควรมีเพศสัมพันธ์ขณะมีประจำเดือน เพราะจะทำให้เกิด โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ได้ง่าย
8. ไม่ควรมีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก หากจำเป็นให้สวมถุงยางอนามัย
9. ไม่ควรสวนล้างช่องคลอด เพราะจะทำให้เกิดการติดเชื้อ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ได้ง่าย


วิธีปฏิบัติตัวของผู้ที่เป็น โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
1. ต้องรักษาอย่างรวดเร็ว เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อโรค
2. แจ้งคู่นอนให้ทราบว่า เป็น โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เพื่อจะได้ป้องกัน ไม่ให้เชื้อแพร่ไปสู่คนอื่น
3. รักษาอาการ และปฏิบัติตัวตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด
4. หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ หรือการสำเร็จความใคร่ด้วยตัวเอง เพื่อป้องกันไม่ให้อาการอักเสบลุกลาม
5. งดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ของมึนเมาทุกชนิด
6. ไม่ควรซื้อยามารักษาเอง ควรปรึกษาแพทย์ เพื่อให้ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง

อุ้งเชิงกรานอักเสบ


            โรคอุ้งเชิงกรารนอักเสบ เป็นการติดเชื้อของมดลูก หรือรังไข่ หรือท่อรังไข่ เป็นการติดเชื้อที่รุนแรงหากรักษาอาจจะทำให้เสียชีวิต การติดเชื้อของโรคปีกมดลูกอักเสบ อาจจะทำลายท่อรังไข่ รังไข่หรืออวัยวะใกล้เคียง หากไม่รักษาอาจจะทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนเป็นหมัน หรือเสียชีวิต เชื้อที่เป็นสาเหตุคือ gonorrhea,chlamydia แต่ก็อาจจะเกิดเชื้อที่อยู่ในช่องคลอดของคนปกติ สาเหตุเป็นทั้งการติดต่อทางเพศสัมพันธ์เกิดตามธรรมชาติก็ได้

สาเหตุ

1.             โรคนี้เกิดจากเชื้อรุกรานจากช่องคลอดผ่าปากมดลูกไปยังมดลูกและท่อรังไข่และช่องท้อง

2.             มักจะเป็นในคนที่อายุต่ำกว่า 25 ปีเนื่องจากปากมดลูกยังไวต่อการติดเชื้อ

3.             ผู้ที่มีเพศสัมพันธ์กับชายหลายคนมีโอกาสเป็นโรคนี้สูง

4.             ผู้ที่มีเพศสัมพันธ์กับชายที่มีแฟนหลายคนก็มีโอกาสเป็นโรคนี้สูง

อาการ

1.        ปวดแน่นท้องน้อย

2.        แสบร้อนในท่อปัสสาวะหรือปัสสาวะแล้วปวด

3.        คลื่นไส้อาเจียน

4.        เลือดออกผิดปกติ

5.        ตกขาวมากขึ้น

6.        ปวดเมื่อมีเพศสัมพันธ์

7.        ไข้สูงหนาวสั่น

การวินิจฉัย

1.   การวินิจฉัยทำได้ยากเนื่องจากบางคนไม่มีอาการแสดง หรือมีแต่น้อย นอกจากนั้นการตรวจร่างกายอาจจะไม่พบความผิดปกติ

2.   ยังไม่การตรวจพิเศษที่ชี้เฉพาะว่าเป็นโรคนี้

3.   การตรวจอาศัยประวัติและการตรวจร่างกายเท่านั้น การตรวจที่สำคัญคือการตรวจภายในพบว่าเมื่อโยกปากมดลูกจะทำให้เกิดอาการปวด หรือเมื่อแตะบริเวณเชิงกรานจะทำให้ปวด

4.   อาจจะนำสารคัดหลั่งไปตรวจหาเชื้อ gonorrhea หรือ chlamydial infection

5.   เจาะเลือดตรวจเพื่อแสดงว่าเป็นโรคติดเชื้อ

6.   ตรวจ ultrasound ท้องน้อยเพื่อตรวจว่าท่อรังไข่บวมหรือไม่ มีหนองที่ท้องน้อยหรือไม่

7.   การส่องกล้อง laparoscope เพื่อให้เห็นบริเวณที่ติดเชื้อ

การรักษา

1.             เนื่องจากการตรวจหาเชื้อที่เป็นสาเหตุเป็นไปได้ยากจึงต้องให้ยาปฏิชีวนะครอบคลุมเชื้อที่เป็นสาเหตุอย่างน้อยสองชนิด

2.             แม้ว่าอาการจะดีขึ้นหลังจากได้ยา ต้องรับประทานยาให้ครบ

3.             สำหรับคู่ครองต้องตรวจหาเชื้อที่ติดต่อทางเพศสัมพันธ์

การรักษาด้วยยา

1.   ยาที่แนะนำให้ใช้รักษาได้แก่ Cefoxitin 2 g ให้ทางเส้นเลือด ทุก 6ชั่วโมงร่วมกับ Doxycycline 100 mg รับประทานหรือฉีดเข้าเส้นเลือดทุก 12 ชั่วโมง

2.   ยาที่ใช้แทนได้แก่ Clindamycin 900 mgให้ทางเส้นเลือดทุก 8 ชั่วโมงร่วมกับ Gentamicin

3.   สำหรับผู้ที่มีอาการไม่มากก็สามารถให้ยารับประทาน Ofloxacin 400 mg รับประทานวันละสองครั้งเป็นเวลา 14 วันหรือ Levofloxacin 500 mg รับประทานวันละครั้งเป็นเวลา 14วันร่วมกับ
Metronidazole 500 mg วันละสองครั้งเป็นเวลา 14 วัน

4.   ยาที่เป็นทางเลือกสำหรับการรักษาผู้ป่วยนอกได้แก่ Ceftriaxone 250 mg ฉีดเข้ากล้ามครั้งเดียวร่วมกับ Doxycycline 100 mg รับประทานวันละ 2 ครั้งเป็นเวลา 14 วัน

5.   สำหรับคู่ครองที่มีเพศสัมพันธ์กับผู้ป่วย 60 วันก่อนเกิดอาการต้องไปตรวจว่ามีการติดเชื้อหรือไม่

โรคแทรกซ้อน

1.   ผู้ที่ได้รับการรักษาตั้งแต่เริ่มเป็นจะลดโรคแทรกซ้อน

2.   โรคแทรกซ้อนที่สำคัญคือการเป็นหมันโดยพบว่าหนึ่งในห้าของผู้ที่เป็นโรคนี้จะเป็นหมัน

3.   ตั้งครรภ์นอกมดลูก

4.   ปวดประจำเดือน

การป้องกัน

1.   เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ต้องรักษาให้ครบ

2.   งดมีเพศสัมพันธ์

3.   มีสามีคนเดียว(สามีก็ควรจะมีเพศสัมพันธ์กับภรรยาเท่านั้น)

4.   สวมถุงยางอนามัย

5.   สำหรับผู้ที่มีอาการผิดปกติ เช่น ปวดแสบเมื่อถ่ายปัสสาวะ มีแผล ตกขาว ปวดท้องน้อย ให้ท่านนึกว่าท่านอาจจะเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ท่านต้องไปพบแพทย์ตรวจ

เชื้อราในช่องคลอด


           เชื้อราในช่องคลอดเป็น โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เกิด จากเชื้อรากลุ่ม Candida ซึ่งร้อยละ 80 - 90 เกิดจาก Candida albicans ทำให้มีอาการระคายเคืองบริเวณช่องคลอด มีการตกขาวขุ่นจับเป็นก้อน อาจมีอาการปัสสาวะแสบขัด เจ็บขณะร่วมเพศ

สาเหตุ

โรคเชื้อราในช่องคลอด เกิดจากเชื้อราในกลุ่ม แคนดิดา ( Candida)” ซึ่งมีหลายสายพันธุ์ย่อย เชื้อที่เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการอักเสบของช่องคลอดที่พบบ่อยที่สุด ได้แก่ แคนดิดา อัลบิแคนส์ (Candida albicans)” โดยมีรูปร่างเป็นเซลล์กลมๆหรือที่เรียกว่า ยีสต์ ซึ่งโดยปกติเป็นเชื้อที่อยู่ในช่องคลอดโดยไม่ทำให้เกิดโรค แต่ถ้าร่างกายมีภูมิคุ้มกันต้านทานโรคต่ำ ได้รับยาปฏิชีวนะเป็นเวลานานๆ เป็นโรคเบาหวาน โรคเอดส์ หรือมีภาวะอับชื้นบริเวณอวัยวะเพศเป็นเวลานานๆ ก็จะทำให้เชื้อรามีปริมาณมากขึ้นจนก่อโรค

อาการ

ผู้ที่เป็นโรคเชื้อราในช่องคลอด จะมีอาการคันเป็นอาการนำที่สำคัญ มีตกขาวลักษณะข้นมีสีขาวหรือสีเหลืองนวลเหมือนนมบูด มีกลิ่น ผนังช่องคลอดมีลักษณะบวมแดง มีอาการคันบริเวณอวัยวะเพศและภายในช่องคลอด บางครั้งอาจพบอาการบวมแดงที่บริเวณอวัยวะเพศร่วมด้วย บางครั้งช่องคลอดจะมีลักษณะเป็นปื้นแดง เปื่อยยุ่ย เป็นขุย หรือมีลักษณะเป็นฝ้าขาว ผิวแตกเป็นร่อง มีอาการแสบเวลาถ่ายปัสสาวะ และเจ็บเวลามีเพศสัมพันธ์ โรคเชื้อราในช่องคลอดไม่ใช่สาเหตุของมะเร็งอวัยวะสืบพันธุ์สตรีก็จริง แต่จะสร้างความรำคาญเป็นอย่างมากจากปริ มาณตกขาวที่มีมากขึ้นเรื่อยๆ อาจมีสีหรือกลิ่นที่ผิดปกติ และมีอาการคันที่รุนแรงตามมา

การวินิจฉัยโรค

ส่วนใหญ่แพทย์วินิจฉัยโรคเชื้อราในช่องคลอดได้จาก ประวัติตกขาวที่ผิดปกติมีลักษณะ เฉพาะคือมีสีขาวหรือสีเหลืองนวลคล้ายนมบูด เมื่อนำตกขาวไปตรวจโดยใช้กล้องจุลทรรศน์จะพบลักษณะสปอร์หรือลักษณะกิ่งก้านของเชื้อรา

การรักษา

แนวทางการรักษาโรคเชื้อราในช่องคลอด คือ

ใช้ยาฆ่าเชื้อรา อาจจะเป็นยาสอดทางช่องคลอดกลุ่ม imidazole derivatives หรือยารับ ประทานกลุ่ม Ketoconazole, Polyene antibiotics หรือ Itraconazole นอกจากนี้ สามารถใช้ยาทาเฉพาะที่เพื่อบรรเทาอาการคันร่วมด้วยได้

รักษาปัจจัยเสี่ยงหรือปัจจัยเสริมต่างๆที่พบร่วมด้วย เช่น โรคเบาหวาน หรือโรคอื่นๆที่ต้องรับประทานยาปฏิชีวนะเป็นเวลานานๆ

ต้องรักษาคู่นอนร่วมด้วยเสมอ

ในรายที่รักษาไม่หายหรือเป็นเรื้อรัง พยายามตรวจหาโรคเอดส์ หรือโรคเบาหวานด้วยเสมอ

ดูแลตนเอง และป้องกันโรคเชื้อราในช่องคลอดได้อย่างไร? ควรพบแพทย์เมื่อไร?

พบอาการได้มากกว่ากลุ่มสตรีที่ไม่ตั้งครรภ์ แต่อย่างไรก็ตาม ไม่มีผลต่อทารกในครรภ์ ไม่ทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนด ส่วนการรักษาใช้วิธีเดียวกับในกลุ่มสตรีที่ไม่ตั้งครรภ์